(15 ธ.ค.) ยูเนสโก ได้ประกาศให้ “โนรา” เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ นับเป็นรายการที่ 3 ของไทย หลังจากการแสดงโขน และนวดไทย ได้เคยถูกขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มาก่อนหน้านี้ ในช่วงปลายปี 2561 และปี 2562
เว็บไซต์ขององค์การยูเนสโก ระบุเป็นภาษาอังกฤษว่า โนรา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่มีการรำและการขับร้องจากภาคใต้ของไทย โดยการแสดงประกอบด้วยการตั้งเครื่อง หรือการประโคมดนตรีเพื่อขอที่ขอทาง เมื่อเข้าโรงแสดงเรียบร้อยแล้ว ตามมาด้วยการโหมโรง กาศครู หรือเชิญครู ซึ่งเป็นการขับร้องบทไหว้ครู และการปล่อยตัวนางรำออกรำโดยการเคลื่อนไหวของขา แขน และนิ้วที่กระฉับกระเฉงและประณีต การแสดงมักจะมาจากเรื่องราวเกี่ยวกับพระชนมชีพในอดีตของพระพุทธเจ้า หรือเกี่ยวกับวีรบุรุษในตำนาน ประกอบกับดนตรีที่ใช้กลองหุ้มหนังหน้าเดียว ซึ่งเรียกว่า ทับ ที่ให้ทำนองและจังหวะที่หนักแน่น ร่วมกับปี่ กลอง โหม่ง ฉิ่ง แตระ
ส่วนนักแสดงหลักของโนรา ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงจะสวมชุดหลากสีพร้อมกับเครื่องประดับศีรษะที่เรียกว่า เทริด, ผ้าโพกศีรษะ, เครื่องลูกปัด, ผ้าห้อยข้าง, ปีกนกแอ่นหรือปีกเหน่ง, ทับทรวงปีกหรือหางหงส์ และยังสวมเล็บยาวที่ม้วนงอออกจากปลายนิ้ว โนราเป็นขนบประเพณีของชุมชนที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมและสังคมอย่างลึกซึ้งสำหรับภาคใต้ของไทย การแสดงใช้ภาษาถิ่น ดนตรี และวรรณคดี เพื่อเสริมสร้างชีวิตทางวัฒนธรรมและความผูกพันทางสังคมในหมู่คนท้องถิ่น มีอายุมากกว่า 500 ปี โดยการแสดงโนราเกิดขึ้นในศูนย์ชุมชนท้องถิ่น วัด กิจกรรมทางวัฒนธรรม และถ่ายทอดผ่านการฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญในบ้าน องค์กรชุมชน และสถาบันการศึกษา
ด้าน เพจโบราณนานมา ให้คำอธิบายเพิ่มเติมว่า การขึ้นทะเบียนตามอนุสัญญามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของ ยูเนสโก มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ
ซึ่ง โนรา ของประเทศไทยจัดอยู่ในประเภทแรก คือ มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ เป็นการแสดงที่มีการปฏิบัติสืบทอดอยู่ทั่วประเทศ การประกาศครั้งนี้เป็น “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” หรือเรียกอีกชื่อว่า “มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” ไม่ได้เรียกว่า “มรดกโลก” เพราะ มรดกโลก นั้นหมายถึง สถานที่อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ รวมไปถึงเมือง
การแสดงโนรา (Nora) หรือ “มโนราห์” เป็นศิลปะการแสดงท้องถิ่นที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนภาคใต้มาช้านาน เป็นการแสดงที่มีแบบแผนในการร่ายรำและขับร้องที่งดงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีคุณสมบัติสมบูรณ์ตรงตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของยูเนสโกกำหนด โดยมีความสอดคล้องกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมใน 4 ลักษณะ ได้แก่ ธรรมเนียม และการแสดงออกทางมุขปาฐะ ศิลปะการแสดง การปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม งานเทศกาล และงานช่างฝีมือดั้งเดิม
นอกจากนี้ โนรายังเป็นศิลปะการแสดงที่ทุกเพศ ทุกวัย สามารถเข้าฝึกทักษะการแสดงได้ มีการไหว้ครูเป็นขนบจารีตที่สำคัญยิ่ง การขึ้นบัญชีโนรานี้จะส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่แสดงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง และทำให้เข้าใจถึงความคล้ายและความแตกต่างของมรดกภูมิปัญญาทั้งในและนอกภูมิภาค
.................................................................
ขอขอบคุณข้อมูลจาก "ฐานเศรษฐกิจ"
๑. วงเครื่องสายไทย วงเครื่องสายไทย เป็นวงดนตรีที่เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร ในลักษณะของการขับกล่อมที่เป็นพิธีมงคล
“วงเครื่องสาย” มีอยู่ ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายวงเล็ก และ วงเครื่องสายเครื่องคู่
วงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังต่อไปนี้ จะเข้ ๑ ตัว ซอด้วง ๑ คัน ซออู้ ๑ คัน ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลาโทน-รำมะนา ๑ คู่ ฉิ่ง ๑ คู่ ฉาบ ๑ คู่ กรับ ๑ คู่ โหม่ง ๑ ใบ
วงเครื่องสายเครื่องคู่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังต่อไปนี้ จะเข้ ๒ ตัว ซอด้วง ๒ คัน ซออู้ ๒ คัน ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา ฉิ่ง ๑ คู่ ฉาบ ๑ คู่ กรับ ๑ คู่โหม่ง ๑ ใบ โทน-รำมะนา ๑ คู่
๒.วงปี่พาทย์
1. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็นวงปี่พาทย์ที่มีเสียงดังฟังชัด เหมาะสำหรับงานแสดงกลางแจ้ง หรือประกอบการ แสดงทั่ๆไป มี3 ขนาดคือ วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่
2. วงปี่พาทย์ไม้นวม เป็นวงปี่พาทย์ที่มีเสียงนุ่มนวลกว่าวงปี่พาทย์ไม้แข็งเสียงำม่ดังเกินไป จึงเหมาะแก่การบรรเลง ในงานที่ไม่ต้องการเสียงอึกทึกครึกโครมมากนัก วงปี่พาทย์ไม้นวมมีเครื่องดนตรีคล้ายกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ที่แตกต่างกันคือ ใช้ขลุ่ยเพียงออแทนปี่ เพิ่มซออู้เพื่อให้เสียงนุ่มนวลขึ้น ระนาดนาดจะใช้ไม้นวมตี มี 3 ขาดคือ
วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องห้า
วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องคู่
วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องใหญ่
3. วงปี่พาทย์ชาตรี เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรี มโนราห์ หนังตลุง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปี่พาทย์เครื่องห้าชนิดเบาประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีต่อไปนี้ ปี่นอก ฆ้องคู่ โทนชาตรี กลองชาตรีฉิ่ง กรับ
4. วงปี่พาทย์นางหงส์ เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีเหมือนกับวงปี่พาทย์ธรรมดาส่วนที่ผิดแปลกไปก็คือ ใช้ปี่ชวาแทนปี่ในแลปี่นอก ใช้กลองมาลายูแทนกลองตะโพนและกลองทัด ใช้บรรเลงในงานอวมงคล แบ่งออกเป็น 3 ขนาดคือ
วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องห้า
วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องคู่
วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องใหญ่
5. วงปี่พาทย์มอญ เป็นวงปี่พาทย์ที่นำเอาเครื่องดนตรีมอญบางชิ้นมาผสมผสานกับเครื่องดนตรีไทยเครื่องดนตรีมอญที่นำมาผสมได้แก่ ปี่มอญฆ้องวงมอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก มักนิยมเล่นในงานศพมี 3 ขนาดคือ
วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า
วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่
วงปีพาทย์มอญเครื่องใหญ่
๓.วงมโหรี มี 3ขนาดคือ
1. วงมโหรีเครื่องเล็ก ประกอบด้วยเครื่องดนตรีบรรเลงทำนองได้แก่ซอสามสาย ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ขลุ่ยเพียงออ จะข้ ซอด้วง ซออู้ส่วนเครื่องตีประกอบจังหวะได้แก่ ฉิ่ง โทนมโหรี รำมะนามโหรี
2. วงมโหรีเครื่องคู่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีบรรเลงทำนองได้แก่ซอสามสายหลีบ 1 คัน ซอสามสายธรรมดา 1 คัน ระนาดเอก ระนาดทุ้มจะเข้ 2 ตัว ซอด้วง 2 คัน ซออู้ 2 คัน ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ขล่ยเพียงออ ขลุ่ยหลีบ ส่วนเครื่องตีประกอบจังหวะได้แก่ ฉิ่ง โทนมโหรี รำมะนามโหรี ฉาบเล็ก
3. วงมโหรีเครื่องใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีบรรเลงทำนองได้แก่ซอสามสายธรรมดา 1 คัน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม จะเข้ 2 ตัว ซอด้วง 2 คัน ซออู้ 2 คันฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ขล่ยเพียงออ ขลุ่ยหลีบ ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็กส่วนเครื่องตีประกอบจังหวะได้แก่ ฉิ่ง โทนมโหรี รำมะนามโหรี ฉาบเล็ก โหม่ง กรับพวง