ตะโพน
ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง ตัวตะโพนทำด้วยไม้สักหรือไม้ขนุน
เรียกว่า หุ่น ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนัง 2 หน้า ดึงด้วยสายหนังโยง
เร่งเสียงเรียกว่า หนังเรียด หน้าใหญ่มีความกว้างประมาณ 25 ซม เรียกว่า
หน้าเท่ง ติดหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมกับขี้เถ้าเพื่อถ่วงเสียง อีกหน้าหนึ่งเล็กกว่า
มีขนาดประมาณ 22 ซม เรียกว่า หน้ามัด ตัวกลองยาวประมาณ 48 ซม รอบ ๆ
ขอบหนังที่ขึ้นหน้า ถักด้วยหนังที่ตีเกลียวเป็นเส้นเล็กๆ เรียกว่า ไส้ละมาน
แล้วจึงเอาหนังเรียดร้อยในช่วงของไส้ละมานทั้งสองข้าง โยงเรียงไปโดยรอบ
จนมองไม่เห็นไม้หุ่น มีหนังพันตรงกลางเรียกว่า รัดอก ข้างบนรัดอกทำเป็น
หูหิ้วและมีเท้ารองให้ ตัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้า ใช้ฝ่ามือซ้ายขวาตีได้ทั้ง
สองหน้า ใช้สำหรับประกอบจังหวะผสมอยู่ในวงปี่พาทย์ ทำหน้าที่กำกับจังหวะ
หน้าทับต่าง ๆ
ตะโพนนี้ ถือเป็นบรมครูทางดุริยางคศิลป์ นับว่าพระประโคนธรรพ เป็นครูตะโพน เมื่อจะเริ่มการบรรเลง จะต้องนำดอกไม้
ธูปเทียนบูชาตะโพนก่อนทุกครั้ง และถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมา เหตุที่ต้องกราบใหว้บูชาก็เพราะตะโพนเป็นเครื่องดนตรีที่
บรรเลงร่วมกับ สังข์ บัณเฑาะว์ และ มโหระทึก ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำองค์ของเทพเจ้า และสมมุติเทพ ดังนี้คือ สังข์ประจำ
พระองค์พระนารายณ์และพระอินทร์ บัณเฑาะว์ ประจำองค์พระอิศวร มโหระทึกเป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบพระอิศริยยศ|
องค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นสมมุติเทพส่วนตะโพนนั้นเป็นกลองที่พระคเณศได้เป็นผู้ตีเป็นคนแรก ดังนั้น ตะโพนเมื่อนำมา
ร่วมบรรเลงในวงปี่พาทย์ จึงถือเป็นบรมครูและทำหน้าที่กำกับหน้าทับต่างๆทั้งหมด
อ้างอิง : วิกิพีเดีย
|
เยาวชนชุมพรสร้างชื่อ วงดนตรีสตริงคอมโบ"หลานย่าชื่น"จากโรงเรียนศรียาภัยคว้ารางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
>> อ่านต่อ>>
|
"Song of the violin"
เพลง Song of the violin ผู้ประพันธ์ ผศ.ประภาส ขวัญประดับ ผู้เรียบเรียงเสียงประสานRondld Van Deurzen
กับความภาคภูมิใจเเละเป็นเกียรติเเก่เขากับโล่เกียรติคุณ เพลงยอดเยี่ยม( ประเภทดนตรีคลาสสิค) รายการประกวดดนตรี Tnter Continented Music Award 2021 เมืองลอสเเอนเจลิส รัฐเเคลิฟอร์เนียร์ สหรัฐอเมริกา
|
|
|
อัตลักษณ์ดอเรียน 6 th ในบทเพลงไทยลูกทุ่ง
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อัตลักษณ์ดอเรียน 6 th ในเพลงไทยลูกทุ่ง
จำนวน 3 เพลงอัตลักษณ์ Dorian 6th คือ โน้ตขั้นที่ 6 ของโหมดดอเรียน ซึ่งเป็นโน้ตที่แสดงให้เห็น
บุคลิกของโหมดดอเรียนจึงเรียกขานกันว่า “Dorian 6th” เนื่องเพราะจุดตำแหน่งของโน้ตใน
ลำดับที่ 6ทำให้เสียงที่แปร่งออกมานั้นสะดุดหู อย่างชนิดที่ทำให้รู้สึก “ชวนฟัง” แสดงให้
เห็นถึงลักษณะเฉพาะในสุ้มเสียงแบบดอเรียนออกมาอย่างชัดเจน การศึกษาครั้งนี้เป็นการเก็บ
รวบรวมข้อมูลเพลงไทยลูกทุ่งรวมถึงแนวคิดและทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจาก เอกสาร
หนังสือ บทความ ผลงานวิจัย >> Read more>> โดย...ดร.กำจร กาญจนถาวร
สาระดนตรี