
The Saxy Jao Lakorn
วงดนตรี The Saxy Jao Lakorn เป็นวงดนตรี ควอเต็ท ประเภทเครื่องลมไม้ (Woodwind Quartet) แบบเดียวกับ
วงแชมเบอร์ มิวสิค(Chamber Music) ภายใต้การริเริ่มและนำทีมโดยท่านอาจารย์ณรงค์ สมิทธิธรรม อดีตหัวหน้า
ภาควิชาดนตรีศึกษาวิทยาลัยครูลำปางนอกจากท่านจะมีความสามารถด้านปฏิบัติดนตรีสากลอันเป็นเลิศแล้วท่าน
ยังสามารถเรียบเรียงบทเพลงต่างๆได้อย่างดีเยี่ยม หลังจากเกษียณอายุราชการท่านได้อุทิศตนเพื่องานศิลป
วัฒนธรรม อย่างต่อเนื่อง วงดนตรี The Saxy Jao Lakorn เป็นการรวมตัวของนักดนตรีจากหลายสาขา หลายเครื่อง
ดนตรี ที่มีความรักและชื่นชอบในแซกโซโฟน อันประกอบด้วย >> Read more <<
- วรรณยศ มิตรานนท์ (ต๊อด)

เกิดเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2492ในตระกูลดนตรี ภูมิลำเนากรุงเทพมหานคร
การศึกษา เริ่มจาก ชั้นประถมที่โรงเรียน ดำเนินศึกษา ถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ แล้วไป
ต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ถนนเจริญกรุง ด้านครอบครัว เป็นบุตรคน
ที่ 3 จากพี่น้อง 5 คนของ นายไมตรี และ นางถวิล มิตรานนท์ สมรสกับ คุณ
นงลักษณ์ แซ่ล้อ มีธิดา 2 คน นส.ภัทราพร และ นส.กนกพรรณ มิตรานนท์ ใน
เส้นทางสายดนตรีเริ่มมีความสนใจในดนตรีเมื่อครั้งศึกษาอยู่ที่ รร.วัดสุทธิฯใน
ช่วงมัธยมศึกษาตอนกลางซึ่งวงดุริยางค์มีชื่อเสียงมาก แต่ไม่มีโอกาสได้เข้า
ร่วมเล่นด้วยเพราะทางบ้านไม่อนุญาต จนกระทั่งปี 2505 ทางบ้านได้ตั้งวงดนตรี
ขึ้นโดยการนำของพี่ชายคนโตและเพื่อนๆ เลยยิ่งทำให้จิตใจฮึกเหิม ติดตามดู
พวกพี่ๆแล้วแอบมาฝึกโดยไม่มีตำรา อาศัยครูพักลักจำฝึกฝนจนสามารถขึ้นเวที
ได้ >>อ่านต่อ<<
ยุคสมัยดนตรีตะวันตก
ยุคบาโรค (Baroque Period)
เป็นยุคของดนตรีในระหวา่งศตวรรษที่17-18 (ราว ค.ศ. 1600-1750)การสอดประสาน
เป็นลักษณะที่พบได้เสมอในปลายยุคช่วงต้นยุค มีการใช้ล้กษณะการใส่เสียงประสาน
(Homophony) เริ่มนิยมการใช้เสียงเมเจอร์ และไมเนอร์ แทนการใช้โหมดต่างๆ การ
ประสานเสียงมีหลักเกณฑ์เป็นระบบ มีการใช้เสียงหลัก(Tonal canter)อัตราจงัหวะเป็นสิ่ง
สำคัญของบทเพลง การใช้ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อย เป็นลักษณะของความ
ดัง-ค่อยมากกว่าจะใช้ลักษณะค่อยๆ ดังขึ้นหรือค่อยๆลง (Crescendo, diminuendo)ไม่มี
ลักษณะของความดังค่อยอย่างมาก(Fortissimo, pianisso) บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่อง
ดนตรีเป็นที่นิยมมากขึ้นบทเพลงร้องยังคงมีอยู่และเป็นทีนิยมเช่นกัน นิยมการนำวงดนตรี
เล่นผสมกับการเล่นเดี่ยวของกลุ่ม เครื่องดนตรี2-3 ชิ้น(Concertogrosso) นักดนตรีที่ควร
รู้จัก คือ มอนเมแวร์ดี คอเรลลี วิวัลดี บาค ฮันเดล
"Song of the violin"
เพลง Song of the violin ผู้ประพันธ์ ผศ.ประภาส ขวัญประดับ ผู้เรียบเรียงเสียงประสานRondld Van Deurzen
กับความภาคภูมิใจเเละเป็นเกียรติเเก่เขากับโล่เกียรติคุณ เพลงยอดเยี่ยม( ประเภทดนตรีคลาสสิค) รายการประกวดดนตรี Tnter Continented Music Award 2021 เมืองลอสเเอนเจลิส รัฐเเคลิฟอร์เนียร์ สหรัฐอเมริกา
|
|
|
อัตลักษณ์ดอเรียน 6 th ในบทเพลงไทยลูกทุ่ง
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อัตลักษณ์ดอเรียน 6 th ในเพลงไทยลูกทุ่ง
จำนวน 3 เพลงอัตลักษณ์ Dorian 6th คือ โน้ตขั้นที่ 6 ของโหมดดอเรียน ซึ่งเป็นโน้ตที่แสดงให้เห็น
บุคลิกของโหมดดอเรียนจึงเรียกขานกันว่า “Dorian 6th” เนื่องเพราะจุดตำแหน่งของโน้ตใน
ลำดับที่ 6ทำให้เสียงที่แปร่งออกมานั้นสะดุดหู อย่างชนิดที่ทำให้รู้สึก “ชวนฟัง” แสดงให้
เห็นถึงลักษณะเฉพาะในสุ้มเสียงแบบดอเรียนออกมาอย่างชัดเจน การศึกษาครั้งนี้เป็นการเก็บ
รวบรวมข้อมูลเพลงไทยลูกทุ่งรวมถึงแนวคิดและทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจาก เอกสาร
หนังสือ บทความ ผลงานวิจัย >> Read more>> โดย...ดร.กำจร กาญจนถาวร
สาระดนตรี